ขั้นตอนง่ายๆสำหรับการแจ้งที่พักอาศัยให้กับชาวต่างชาติ ตม.30

ขั้นตอนง่ายๆสำหรับการแจ้งที่พักอาศัยให้กับชาวต่างชาติ ตม.30

เป็นระยะเวลานานกว่า 18 เดือนที่เกิดความสับสนและข้อสงสัยมากมายสำหรับการกรอกแบบฟอร์มการแจ้งที่พักชาวต่างชาติ ตม.30 ตามสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของประเทศไทย โดยในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเริ่มเข้มงวดมากขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่ควรรู้ก่อนการแจ้ง ตม.30 นี้ คุณต้องตรวจสอบสถานะของตัวเองก่อนเสมอว่าตนเองนั้นเป็นผู้เช่าชาวต่างชาติ หรือ เป็นเจ้าของที่พักอาศัย แต่ท่ามกลางความสับสนและข้อสงสัยที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการกรอกแบบฟอร์มการแจ้งที่พักชาวต่างชาติ ตม.30 เราจะแนะนำวิธีและอธิบายขั้นตอนง่ายๆสำหรับการกรอกแบบฟอร์มนี้

แบบฟอร์มการแจ้งที่พักชาวต่างชาติ ตม.30 คืออะไร ?

กฎหมายที่ว่าด้วยการแจ้งที่พักชาวต่างชาติ ตม.30 คือ กฎหมายที่ว่าด้วย “การแจ้งที่พักของชาวต่างชาติภายใน 24 ชั่วโมง” เป็นกฎหมายข้อบังคับที่มีขึ้นมาเป็นระยะเวลานานมาหลายปี ไม่ใช่กฎหมายที่พึ่งบังคับใช้แต่อย่างใด ทั้งนี้กฎข้อระเบียบต่าง ๆที่เกี่ยวกับกับ ตม.30 นี้เป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบรายละเอียดที่พักของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย หากคุณเป็นชาวต่างชาติและเข้าพักในโรงแรมเป็นระยะเวลาสั้นๆ คุณไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับข้อกฎหมายนี้

กฎหมายส่วนใหญ่มีผลกระทบต่อชาวต่างชาติหรือบุคคลต่อไปนี้:

  • ชาวต่างชาติที่เข้าพักในสถานที่โดยไม่มีใบอนุญาต (โรงแรมหรือวิลล่า/คอนโด/อพาร์ตเมนท์ที่ไม่มีใบอนุญาต)
  • ชาวต่างชาติเข้าพักในสถานที่ของเพื่อนชาวไทย
  • ชาวต่างชาติที่มีบ้านและอาศัยอยู่ในประเทศไทย
  • ชาวต่างชาติที่มีชื่อเป็นเจ้าของร่วม บ้านหรือคอนโดในประเทศไทย

โดยแบบฟอร์มนี้เป็นแบบฟอร์มการแจ้งที่พักของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น

แบบฟอร์มการแจ้งที่พักชาวต่างชาติ ตม.30 นี้ เจ้าของสถานที่จะต้องเป็นผู้กรอกข้อมูลเพื่อทำการแจ้งให้แก่ชาวต่างชาติที่ได้พักอาศัยอยู่ในสถานที่ที่ตนเองเป็นเจ้าของ โดยเจ้าของสถานที่จะต้องดำเนินการแจ้งนี้ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงหลงจากที่ผู้เข้าพักหรือผู้เช่าที่เป็นชาวต่างชาติเดินทางมาถึงสถานที่เช่าของตนเอง

ตาม พระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 38 ได้กำหนดไว้ว่า

การแจ้งที่พักของคนต่างชาติ ตาม พระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 38 ได้กำหนดไว้ว่า “เจ้าบ้าน เจ้าของบ้านหรือผู้ครอบครองเคหสถาน หรือผู้จัดการโรงแรมซึ่งรับคนต่างชาติซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เข้าพักอาศัย จะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่ เคหสถาน หรือโรงแรมนั้นอยู่ ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่คนต่างชาติเข้าพักอาศัย ถ้าท้องที่ใดไม่มีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่ ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ณ สถานีตำรวจในท้องที่นั้นในกรณีที่บ้าน เคหสถาน หรือโรงแรมที่คนต่างชาติเข้าพักอาศัย ตามวรรคหนึ่งตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กองตรวจคนเข้าเมืองการแจ้งตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด”

เจ้าของบ้านจะโดนปรับไหมหากไม่ได้แจ้ง ตม.30 ?
หน้าที่การแจ้ง ตม.30 เป็นหน้าที่ที่ทางเจ้าของบ้านจะต้องยื่นรายงาน ตม.30 ตั้งแต่ผู้เช่า(ที่เป็นชาวต่างชาติ)ได้เริ่มต้นการเช่า หากเจ้าของบ้านไม่ยื่นแจ้งรายงาน ตม.30 นี้อาจจะถูกปรับ 800 บาทไปจนถึง 2,000 บาท แม้ว่าเจ้าของบ้านบางท่านอาจจะมองว่าค่าปรับนี้เป็นจำนวนที่ไม่สูงมากจนบางท่านอาจจะละเลยการยื่นแจ้งรายงาน ตม.30 นี้และยอมที่จะจ่ายค่าปรับ แต่สิ่งที่จะส่งผลโดยตรงหากละเลยการยื่นแจ้งรายงานนี้ก็คือ สถานะการอยู่อาศัยในอนาคตของผู้เช่า ดังนั้นเพื่อผลประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายแนะนำให้ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับนี้อย่างถูกต้องจะเป็นผลดีที่สุด

จะแจ้ง ตม.30 ได้อย่างไร ?
เจ้าของบ้านที่มีผู้เช่าเป็นชาวต่างชาติอยู่นั้นมีหน้าที่ที่จะต้องยื่นรายงาน ตม.30 ให้แก่ผู้เช่า ตามกฎหมายข้อบังคับของไทย โดยเจ้าของบ้านหรือตัวแทนของเจ้าของบ้านจะต้องเตรียมเอกสารตามล่างนี้

เอกสารฝ่ายเจ้าของบ้าน
1.       เจ้าของบ้านจะต้องกรอกฟอร์ม ตม.30
2.       สำเนาบัตรประชาชน หรือ หนังสือเดินทางของเจ้าของบ้าน
3.       สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ โฉนดที่ดิน
4.       สำเนาสัญญาเช่า

เอกสารฝ่ายผู้เช่า
1.       สำเนาหนังสือเดินทางของผู้เช่าชาวต่างชาติ
–        โดยสำเนาหนังสือเดินทางนี้จะต้องมีรูปถ่ายของผู้เช่าและข้อมูลของหนังสือเดินทาง
–        สำเนาหนังสือเดินทางหน้าวีซ่า
–        สำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีตราประทับขาเข้า

หมายเหตุ : เอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดตามด้านบนนี้จะต้องถูกรับรองด้วยหมึกสีน้ำเงินโดยเจ้าของเอกสาร

จะแจ้ง ตม.30 ได้ที่ไหน ?
หากคุณสงสัยว่าจะแจ้ง ตม.30 ได้อย่างไร หรือว่าสามารถแจ้ง ตม.30 นี้ได้ที่ไหน ในฐานะเจ้าของบ้านที่มีผู้เช่าต่างชาตินั้น คุณอาจจะมีคำถามเกี่ยวกับ ตม.30 นี้

  • ณ ปัจจุบันการแจ้ง ตม.30 สามารถทำได้สะดวกมากขึ้นหากเทียบกับหลายๆปีที่ผ่านมา โดยวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด ง่ายที่สุด และ เร็วที่สุด คือการแจ้งออนไลน์ เพื่อความสะดวกให้แก่เจ้าของบ้านมากยิ่งขึ้น เรามีบริการการแจ้ง ตม.30 ออนไลน์นี้ให้แก่เจ้าของบ้านที่ไม่สะดวกในการดำเนินการต่าง ๆ ด้วยตัวเอง โดยบริการนี้คือ io

เป็นบริการที่จะช่วยให้เจ้าของบ้านไม่ต้องเสียเวลาไปกับการกรอกข้อมูลด้วยตัวเองเพียงแค่ถ่ายรูปหนังสือเดินทางของผู้เช่าและไปที่เว็บไซต์ TM30.io โดยตัวเว็บไซต์จะช่วยทางคุณเจ้าของบ้านกรอกข้อมูลที่เหลือเอง
1. ข้อมูลของผู้เช่าตามหนังสือเดินทาง
2. กรอก ตม.30 ฟอร์มและแจ้งต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองให้ในนามของเจ้าของบ้าน
3. ในกรณีที่เว็บไซต์สำหรับการแจ้ง ตม.30 นั้นไม่สามารถใช้งานได้เนื่องด้วยความขัดข้องด้านการใช้งาน ทาง TM30.io จะทำการติดตามจนกว่าจะเว็บไซต์จะใช้งานได้ปกติและจะทำการแจ้ง ตม.30 ให้ทันที
4. เมื่อการแจ้ง ตม.30 เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วทางเว็บไซต์จะทำการสกรีนช็อตให้แก่ทางเจ้าของบ้านเพื่อเป็นการแจ้งยืนยันว่าการแจ้ง ตม.30 เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยสกรีนช็อตนี้สามารถใช้เป็นหลักฐานการยื่นต่อวีซ่าสำหรับผู้เช่าได้ในกรณีที่ผู้เช่าต้องใช้หลักฐานการแจ้ง ตม.30 เพื่อใช้ในการต่อวีซ่าของตนเองตามข้อบังคับของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

ถ้าหากคุณเป็นเจ้าของบ้านและไม่อยากเสียเวลาไปกับการอัพโหลดข้อมูลรูปภาพต่าง ๆมากมายในเว็บไซต์ด้วยตนเอง เรามีวิธีที่ง่ายมากกว่านั้นเพียงแค่คุณเข้าใช้บริการของ TM30.io และเข้าใช้ระบบ Chat-bot ของเว็บไซต์ ขั้นตอนยุ่งยากมากมายก็สามารถสำเร็จได้ภายในช่องแชทเดียว

  • แจ้ง ตม.30 ผ่านทางไปรษณีย์

คุณสามารถทำการแจ้ง ตม.30 นี้ผ่านทางไปรษณีย์ได้ โดยจะต้องแนบเอกสารทุกฉบับของทั้งผู้เช่าและผู้ให้เช่าตามรายละเอียดด้านบนและฟอร์มการแจ้ง ตม.30 ส่งไปรษณีย์ไปที่ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่ใกล้เคียงที่สุด โดยขั้นตอนการแจ้ง ตม.30 ผ่านทางไปรษณีย์ที่สำคัญคือคุณจะต้องใส่ซองสำหรับใส่เอกสารให้กับเจ้าหน้าที่ด้วยเพราะหลังจากที่เจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารการแจ้งนี้แล้ว ทางเจ้าหน้าที่จะส่งเป็นตัวใบรับการแจ้ง ตม.30 นี้คืนให้กับคุณหรือผู้เช่า(ตามที่อยู่หน้าซองที่ระบุ) โดยการแจ้งผ่านไปรษณีย์นี้อาจจะใช้เวลากว่า 2-4 อาทิตย์

  • แจ้ง ตม.30 ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

เป็นวิธีที่สามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลการแจ้งของคุณนั้นจะถึงที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองอย่างแน่นอน

  • มอบอำนาจให้ตัวแทนไปส่งเอกสารเพื่อแจ้ง ตม.30 ให้แทน
    หากมีความจำเป็นที่ต้องแจ้ง ตม.30 นี้อย่างเร่งด่วน ทำให้เกิดการใช้ “ตัวแทน” หรือ บุคคลที่สามในการลงทะเบียนนี้ได้ โดยตัวแทนจะเดินทางไปที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและทำการแจ้ง ตม.30 ให้แก่คุณ โดยปกติแล้วตัวแทนเหล่านี้จะคิดค่าบริการประมาณ 500 บาทไปจนถึง 1,000 บาท ถ้าหากคุณต้องการแจ้ง ตม.30 อย่างเร่งด่วนแต่ไม่มีเวลาที่จะจัดการด้วยตัวเอง การใช้บริการตัวแทนนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีสำหรับการแก้ปัญหาต้องการแจ้ง ตม.30 เร่งด่วนเช่นกันแจ้ง ตม.30 ด้วยการลงทะเบียนออนไลน์

  • สามารถส่งใบสมัคร ตม.30 ของคุณผ่านแอปลงทะเบียนออนไลน์ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง จะเป็นวิธีที่รวดเร็วและสะดวกที่สุดสำหรับการแจ้ง ตม.30 นี้ และยังเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับเจ้าของบ้านที่เป็นชาวต่างชาติอีกด้วย

ขั้นตอนที่ 1:  ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น ของสำนักงานการตรวจคนเข้าเมือง ได้ฟรีจาก Play Store หรือ Apple Store

ขั้นตอนที่ 2:  เพิ่มข้อมูลที่ต้องการแจ้งเกี่ยวกับเจ้าของบ้านและทรัพย์สิน

ขั้นตอนที่ 3:  เมื่อคุณทำเสร็จแล้ว คุณจะได้รับอีเมลแจ้งเตือน เพื่อสร้างบัญชีส่วนตัวด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน

ขั้นตอนที่ 4:  เมื่อลงทะเบียนแล้ว คุณจะสามารถคลิกที่ปุ่ม “การแจ้งการอยู่อาศัย” เพื่อไปที่หน้าจอการลงทะเบียนหลัก

ขั้นตอนที่ 5:  กรอกรายละเอียดผู้เช่าตามที่ต้องการแจ้ง

ขั้นตอนที่ 6:  กดส่งข้อมูล

หากคุณกรอกรายละเอียดอย่างถูกต้อง หน้าแอพพลิเคชั่นจะโหลดหน้าจอที่มีรายละเอียดของผู้เช่า แต่ที่สำคัญที่ต้องทราบไว้คือในบางครั้งเว็บไซต์และเทคโนโลยีของประเทศไทยอาจจะขัดข้อง

อย่างไรก็ตามไม่ว่าคุณจะแจ้ง ตม.30 ทางออนไลน์ ทางไปรษณีย์ โดยตัวแทน หรือไปแจ้งด้วยตัวเอง สิ่งที่สำคัญคือต้องปฏิบัติตามกฎหมายตรวจคนเข้าเมืองประเทศไทยที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้อีกดังนั้นเราจะต้องเปลี่ยนและปฏิบัติตามกฎตรวจคนเข้าเมืองด้วยเช่นกัน

author avatar
Hero Realtor

เข้าร่วมการสนทนา

4 thoughts on “ขั้นตอนง่ายๆสำหรับการแจ้งที่พักอาศัยให้กับชาวต่างชาติ ตม.30”

  • Nina

    สอบถามเพื่อเป็นข้อมูลค่ะ กรณีเราพิมพ์ตม. ลงในลิงค์แล้วในทุกๆวัน ในลิงค์จะออโต้ส่งให้ทางกรมการปกครองหรือเปล่าค่ะ หรือยังไม่อัพโหลดไฟล์เป็นเอ็กเซลและส่งถือกรมการปกครองอีกรอบ

    Reply
    • Hero Realtor

      หากคุณNina หมายถึงการนำส่งข้อมูลตม.30 ในกรณีที่นำส่งข้อมูลออนไลน์ผ่านทางเว็ปไซต์ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ระบบจะนำส่งข้อมูลให้โดยอัตโนมัติค่ะ โดยไม่ต้องดาวน์โหลดไฟล์และนำส่งอีกซ้ำอีกรอบหรือถ้าหากคุณNina มีคำถามใดๆ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยตรงที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประจำจังหวัดที่อาศัยได้เลยค่ะ

      Reply
  • Ecostar company limited

    สวัสดีคะ ทางเราเป็นที่พักให้เช่า ต้องทำอย่างไรถึงจะลงทะเบียนและดาวโหลดแอพพริเคชั่นเพื่อรายงานตม.30 คะ
    ขอขอบพระคุณล่างหน้าสำหรับการช่วยเหลือนะคะ
    บริษัท อิโค่สตาร์

    Reply
    • Hero Realtor

      สวัสดีครับ

      สามารถลงทะเบียนและแจ้ง ตม.30 ได้ที่เว็บไซต์ของทาง ตม. ตามรายละเอียดในลิ้งค์นี้ครับ https://www.immigration.go.th/?page_id=1660
      หรือ สามารถใช้บริการของทางเว็บไซต์นี้ได้ครับ https://tm30.io/

      ขอบคุณครับ

      Reply

Compare listings

เปรียบเทียบ